1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
1. การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2. การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
3. การกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบ
การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ
อาชญากรรมอาจแบ่งได้ 6 ประเภทได้แก่
1.
การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม
อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2.
การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม
แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3.
การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น
การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4.
การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป
โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน
หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5.
ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
และตามข้อกำหนด 47 USC 223
การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี
ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6.
ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ
แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ
โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ
เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง
และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
ตัวอย่าง : ระบบคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย
ระบบข้อมูลซึ่งประมวลโดยคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้สามารถจัดการข้อมูล ได้มากกว่า 1 คน
ทำให้ระบบข้อมูลนักศึกษา 43,000 คนได้รับความเสียหาย คะแนนเฉลี่ยถูกเปลี่ยน
ข้อมูลบางอย่างถูกลบ
http://www.microsoft.com/thailand/piracy/cybercrime.aspx
Cracker :
Cracker คือ
ผู้ที่พยายามหาช่องโหว่ของระบบ, โปรแกรม เพื่อเข้าไปบุกรุก ด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่ดี
เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล เป็นต้น
สแปม :
Spam (สแปม) คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ
ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate)
และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam
Board )
ม้าโทรจัน แตกต่างจากไวรัสที่การทำงาน ไวรัสทำงานโดย ทำลายคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง แต่ "ม้าโทรจัน" ไม่ทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันไม่มีคำสั่งหรือพฤติกรรมการทำลายคอมพิวเตอร์เหมือนไวรัส ม้าโทรจันเหมือนโปรแกรมทั่วไปในคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันจึงไม่ใช่ไวรัส ม้าโทรจันนั้นเป็นเครื่องมือของแฮคเกอร์ในการเจาะระบบ เพราะม้าโทรจันนั้นคือโปรแกรมที่เขียน ขึ้นเพื่อบันทึกว่าแป้นคีย์บอร์ดแป้นไหนถูกกดบ้าง ด้วยวิธีการนี้ก็จะได้ข้อมูลของ User ID, Password หลังจากนั้นโปรแกรมม้าโทรจันจะบันทึกข้อมูลลงไปใน RAM , CMOS หรือ Hidden Directory ในฮาร์ดดิสก์ แล้วก็หาโอกาสที่จะอัพโหลด ตัวเองไปยังแห่งที่ผู้เขียนม้าโทรจันกำหนด หรือบางทีแฮคเกอร์อาจจะใช้วิธีการเก็บไฟล์ดังกล่าวไปด้วยวิธีอื่น การใช้อินเตอร์เน็ต ใช้โมเด็ม หรือใช้ LAN
ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคของอินเตอร์เน็ต (Internet ) ขนาดของโปรแกรมม้าโทรจันนั้นใหญ่ขึ้น และทำอะไรได้เบี่ยงเบนความสนใจมากขึ้น เช่น แสดงรูปภาพสกรีนเซฟเวอร์น่ารักๆ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของม้าโทรจันคือ "สืบเสาะหาความลับ"เหมือนเดิม ม้าโทรจันบางตัวเข้ามาเพื่อเปิดช่องว่างด้านระบบรักษาความปลอดภัย รอพวกไม่หวังดี เข้ามาปฎิบัติการอีกที และอย่างที่เราทราบกันแฮคเกอร์ บางคนวางแผนยึดเครื่องพีซีเพื่อดำเนินการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการทางอินเตอร์ให้หยุดให้บริการ
สปายแวร์ :
2. อธิบายความหมายของ
Hacker :
Hacker คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์อย่างสูงมาก
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่าย , ระบบปฏิบัติการ จนสามารถเข้าใจว่าระบบมีช่องโหว่ตรงไหน
หรือสามารถไปค้นหาช่องโหว่ได้จากตรงไหนบ้าง เมื่อก่อนภาพลักษณ์ของ Hacker จะเป็นพวกชั่วร้าย ชอบขโมยข้อมูล หรือ ทำลายให้เสียหาย แต่เดี๋ยวนี้ คำว่า
Hacker หมายถึง Security Professional ที่คอยใช้ความสามารถช่วยตรวจตราระบบ
และแจ้งเจ้าของระบบว่ามีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง อาจพูดง่ายๆว่าเป็น Hacker ที่มีจริยธรรมนั่นเอง ในต่างประเทศมีวิชาที่สอนถึงการเป็น Ethical
Hacker หรือ แฮกเกอร์แบบมีจริยธรรม
ซึ่งแฮกเกอร์แบบนี้เรียกอีกอย่างว่า White Hat Hacker ก็ได้
ส่วนพวกที่นิสัยไม่ดีเราจะเรียกว่าพวกนี้ว่า Cracker หรือ Black
Hat Hacker ซึ่งก็คือ มีความสามารถเหมือน Hacker ทุกประการ เพียงแต่พฤติกรรมของ Cracker นั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรรม
เช่น ขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไม่ได้ เป็นต้น
http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2099-hacker-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.htmlCracker :
สแปม :
http://www.affiliate-gdi.ws/No-Spam.php
ม้าโทรจัน :
ม้าโทรจัน
คือ โปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อ ปฎิบัติการ
"ล้วงความลับ"เช่น รหัสผ่าน, User Name และข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับการ Login ระบบ
ที่ถูกพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดโดยผู้ใช้งาน โดยส่วนใหญ่แฮคเกอร์จะส่งโปรแกรมม้าโทรจัน
เข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ
หรือเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ ม้าโทรจัน แตกต่างจากไวรัสที่การทำงาน ไวรัสทำงานโดย ทำลายคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง แต่ "ม้าโทรจัน" ไม่ทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันไม่มีคำสั่งหรือพฤติกรรมการทำลายคอมพิวเตอร์เหมือนไวรัส ม้าโทรจันเหมือนโปรแกรมทั่วไปในคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันจึงไม่ใช่ไวรัส ม้าโทรจันนั้นเป็นเครื่องมือของแฮคเกอร์ในการเจาะระบบ เพราะม้าโทรจันนั้นคือโปรแกรมที่เขียน ขึ้นเพื่อบันทึกว่าแป้นคีย์บอร์ดแป้นไหนถูกกดบ้าง ด้วยวิธีการนี้ก็จะได้ข้อมูลของ User ID, Password หลังจากนั้นโปรแกรมม้าโทรจันจะบันทึกข้อมูลลงไปใน RAM , CMOS หรือ Hidden Directory ในฮาร์ดดิสก์ แล้วก็หาโอกาสที่จะอัพโหลด ตัวเองไปยังแห่งที่ผู้เขียนม้าโทรจันกำหนด หรือบางทีแฮคเกอร์อาจจะใช้วิธีการเก็บไฟล์ดังกล่าวไปด้วยวิธีอื่น การใช้อินเตอร์เน็ต ใช้โมเด็ม หรือใช้ LAN
ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคของอินเตอร์เน็ต (Internet ) ขนาดของโปรแกรมม้าโทรจันนั้นใหญ่ขึ้น และทำอะไรได้เบี่ยงเบนความสนใจมากขึ้น เช่น แสดงรูปภาพสกรีนเซฟเวอร์น่ารักๆ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของม้าโทรจันคือ "สืบเสาะหาความลับ"เหมือนเดิม ม้าโทรจันบางตัวเข้ามาเพื่อเปิดช่องว่างด้านระบบรักษาความปลอดภัย รอพวกไม่หวังดี เข้ามาปฎิบัติการอีกที และอย่างที่เราทราบกันแฮคเกอร์ บางคนวางแผนยึดเครื่องพีซีเพื่อดำเนินการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการทางอินเตอร์ให้หยุดให้บริการ
http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2031-trojan-horses-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
สปายแวร์เป็นคำศัพท์สามัญก็ใช้สำหรับซอฟต์แวร์ที่ทำพฤติกรรมบางอย่าง อาทิเช่นทำการโฆษณา ทำการรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หรือเปลี่ยนแปลงตัวแปรที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ โดยที่คุณไม่ได้อนุญาติ คุณอาจจะมีสปายแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องการอยู่ในคอมพิวเตอร์ ถ้าหาก:
- คุณเห็นโฆษณาป๊อบอัพโผล่ขึ้นมาบนหน้าจอ แม้ว่าคุณไม่ได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ก็ตาม โฮมเพจหรือ
เพจแรกที่บราวเซอร์ของคุณเรียกขึ้นมาหรือเพจค้นหาข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงโดยที่คุณไม่ทราบมาก่อน
- คุณสังเกตเห็นทูลบาร์แบบใหม่ที่คุณไม่ต้องการในบราวเซอร์ และการขจัดทูลบาร์ดังกล่าวทิ้งไปทำได้ยากมาก
- คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานบางอย่างนานกว่าปกติ
- คุณเจอปัญหาคอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อยครั้ง
โดยปกติแล้วสปายแวร์มักจะเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ที่ใช้แสดงผลโฆษณา(เรียกว่าแอดแวร์)หรือซอฟต์แวร์ที่คอยบันทึกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลลับของผู้ใช้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่ใช้แสดงโฆษณาหรือคอยเฝ้าติดตามกิจกรรมออนไลน์ของคุณจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ชั่วร้ายเสมอไป ตัวอย่างเช่นคุณอาจจะลงทะเบียนใช้บริการเพลงแจกฟรี และ "จ่ายค่าบริการ"ในรูปของการยอมรับโฆษณามายังพีซีของคุณเป็นต้น ถ้าหากคุณเข้าใจเงื่อนไขและยอมตกลงตามนั้น คุณอาจคิดว่านั่นเป็นการแลกเปลี่ยนที่ยุติธรรมแล้ว นอกจากนั้นคุณอาจยอมให้บางบริษัทคอยเฝ้าดูกิจกรรมออนไลน์ของคุณ เพื่อที่จะแสดงโฆษณาที่เหมาะสมมาให้คุณเห็นก็เป็นได้ ซอฟต์แวร์ที่ไม่พึ่งประสงค์แบบอื่นๆอาจจะเข้ามาทำการเปลี่ยนแปลงตัวแปรในคอมพิวเตอร์ของคุณซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ารำคาญอย่างมาก รวมทั้งยังอาจทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานช้าลงหรือแฮงก์ได้ โปรแกรมเหล่านี้มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงโฮมเพจ หรือเพจค้นหาข้อมูลที่อยู่ในบราวเซอร์ของคุณได้ หรืออาจจะเพิ่มเติมคอมโพเน้นต์บางอย่างที่คุณไม่ต้องการลงไปในบราวเซอร์ของคุณได้เช่นกัน นอกจากนั้นโปรแกรมเหล่ายังทำให้การปรับเปลี่ยนตัวแปรกลับไปสู่สภาพเดิมกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างมากอีกด้วย ดังนั้นโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้จึงอาจเรียกว่าเป็นสปายแวร์ได้เช่นกัน
http://www.microsoft.com/thailand/security/infospyware.aspx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น