1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี (Technology)
การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างไกล
เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ตัวอย่าง :
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นการอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว
คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่
หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น
แล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาการถึงระดับใช้สื่อประสม และใช้เทคนิคต่างๆ
เพื่อให้การสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
http://krusommawan.bps.in.th/index.php/it23143/sheet-unit1/32-sheet1-meaning
สารสนเทศ (Information)
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง
เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน
ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง
ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
ตัวอย่าง :
จากข้อมูลที่เราได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือนำเรื่องที่เราพบเจอ
นำไปเผยแพร่ให้บุคคลต่าง ๆ ได้ศึกษาต่อในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
ข้อมูลนั้นก็จะเป็นข้อมูลสารสนเทศ
http://www.school.net.th/library/snet1/network/it/เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT)
เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ
ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย
ตัวอย่าง :
การลงทะเบียนเรียน การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้
แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด
ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า
มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม
หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง
ข้อมูล
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน
ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
ตัวอย่าง :
เราอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า, ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ
เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้, เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง
(bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง
ฐานความรู้ (knowledge base)
เป็นฐานข้อมูลชนิดพิเศษสำหรับการจัดการความรู้ ฐานความรู้เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม
จัดการ แบ่งปัน สืบค้น และนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้หรือตั้งใจให้มนุษย์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
-
ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้เก็บบันทึกความรู้ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ โดยปกติใช้เพื่อจุดประสงค์ของการใช้เหตุผลนิรนัยอัตโนมัติในตัว
พวกมันมีกลุ่มของข้อมูลที่มักจะอยู่ในรูปแบบของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อธิบายความรู้ สามารถนิยามขึ้นได้จากโครงสร้างของข้อมูลที่เก็บบันทึกว่า
ประเภทใดของหน่วยข้อมูลถูกบันทึกอยู่และความสัมพันธ์ของพวกมันเป็นอย่างไร
-
ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บุคคลค้นคว้าและใช้ความรู้ที่มันบรรจุอยู่
ตามปกติมันจะถูกใช้เพื่อเติมเต็มแผนกช่วยเหลือ (help desk) หรือเพื่อแบ่งปันสารสนเทศระบบที่ใช้พื้นฐานบนข้อความ
ซึ่งสามารถรวมกลุ่มเอกสารที่มีการเชื่อมโยงหลายมิติระหว่างกัน เรียกว่า
ระบบข้อความหลายมิติ (hypertext system)
ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้สามารถเชื่อมต่อกับฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้
ผ่านทางการสำเนาทิศทางเดียวหรือสองทิศทาง หรือส่วนต่อประสานในเวลาจริงบางชนิด
จากนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถใช้เทคนิคเชิงปัญญาประดิษฐ์กับส่วนของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้
เพื่อเตรียมผลลัพธ์การค้นหาที่ดีที่สุด
เพื่อตรวจสอบบูรณภาพของข้อเท็จจริงที่พบในเอกสารต่างชนิดกัน
และเพื่อจัดหาเครื่องมือการประพันธ์ที่ดีกว่า
******************************************************************************************************
2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
รูปการจัดแบ่งระดับชั้นของระบบสารสนเทศ
มุมแหลม ซึ่งหมายถึงขอบเขตความกว้างขวางของปริมาณข้อมูลที่มีมากในระดับล่าง และลดหลั่นลงไปเมื่อถึงยอด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยแต่ละระดับมีลักษณะดังนี้
1. ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลรายการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ๆ ในการทำงานประจำวัน จัดว่าเป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับสร้างหรือจัดรูปแบบใหม่ ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
2. ระดับที่สอง (Operation Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
3. ระดับที่สาม (Management Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้
4. ระดับที่สี่ หรือ (Strategic Planing)หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์
การจัดโครงสร้างทั้งสี่ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่า การใช้สารสนเทศแยกกันโดยเด็ดขาด แต่เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาว่า ผู้บริหารแต่ละระดับมีความต้องการข้อมูลที่ต่างกัน ในแต่ระดับอาจต้องการสารสนเทศที่จัดเตรียมขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า หรือบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น